มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
หลักสูตร/สมัครเรียน
วิทยาลัยวางแผนเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมในทุกระดับ โดยตั้งเป้าหมายผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรักความเป็นธรรม มีทักษะในการทำงาน สนใจเข้าร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ และสอดรับกับวิสัยทัศน์ที่ว่า “สถาบันชั้นนำของอาเซียน ที่สร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ให้เกิดการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วม สมดุล และยั่งยืน” โดยวิทยาลัยได้มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตดังนี้
สร้างคนให้มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ และรับผิดชอบต่อสังคม
สร้างคนให้มีความเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบต่างๆในชุมชนหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนชนบท เข้าใจปัญหาความยากจนอย่างลึกซึ้ง
พัฒนาให้เกิดทักษะการทำงานกับชุมชน เป็นนักพัฒนาชุมชน นักวิชาการ นักวิจัยชุมชน นักประเมินสถานการณ์ชุมชน นักจัดการงานอาสาสมัคร หรือโครงการจัดการตนเองโดยชุมชน เป็นนักส่งเสริมงานวัฒนธรรมชุมชน นักจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน และคนทำงานด้าน Social Responsibility ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจ
สร้างความพร้อมให้นักศึกษาและบัณฑิตประกอบอาชีพอิสระ และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)
ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อประชาชน เพื่อการพึ่งพาตนเอง
หลักสูตรปริญญาตรี
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
หลักสูตรปริญญาโท
หลักสูตรปริญญาตรี
ศิลปศาสตรบัณฑิต
(นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม)
จากสภาพแวดล้อมและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเป็นฐานคิดในการพัฒนาหลักสูตรนี้ขึ้น โดยให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวและทักษะที่หลากหลายของมนุษย์ ความสามารถในการรับมือกับวัฒนธรรมที่หลากหลาย ความคิดเชิงวิเคราะห์ ความคิดที่แปลกใหม่และความคิดเชิงประยุกต์ ความสามารถในการออกแบบงาน ความฉลาดในการเข้าสังคม และมีความเข้าใจสื่อยุคใหม่ จึงได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีความยืดหยุ่นสอดประสานไปกับสถานการณ์ของสังคมโลก
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
(บัณฑิตอาสาสมัคร)
หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตอาสาสมัครนับว่าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแรกในประเทศไทยที่มีการเรียนแบบบริการสังคม (Service Learning) นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยผ่านอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่นักเรียนสนใจศึกษา นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนภาคทฤษฎี 3 เดือน อีก 7 เดือนเป็นการลงพื้นที่เพื่อปฏิบัติงาน และเขียนงานวิจัยเฉพาะเรื่องที่ได้จากในพื้นที่ 2 เดือน สุดท้าย
หลักสูตรปริญญาโท
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(การพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา)
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาร่วมสมัยและการปฏิบัติการ (หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2565 อยู่ระหว่างการพิจารณาของมหาวิทยาลัย)
เปิดสอนใน 2 วิชาเอก ได้แก่
วิชาเอกการพัฒนาร่วมสมัยและการประเมินผลเชิงพัฒนา และวิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา หลักสูตรจะสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการยกระดับและต่อยอด คุณภาพของการพัฒนาประเทศในทุกด้าน ไม่ว่าด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ฯลฯ เนื่องจาก เป็นหลักสูตรพหุวิทยาการ ผู้ศึกษาซึ่งได้รับการฝึกฝน บ่มเพาะให้เป็นผู้มีแนวคิดต่อการพัฒนาในเชิง บูรณาการทุกมิติ ทางสังคมอยู่แล้ว จะได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ความเข้าใจและทักษะของการติดตามประเมินผลการพัฒนาทั้งด้าน แนวคิดทฤษฎี และการบริหารจัดการงานพัฒนา เพื่อเป็นกลไกรูปธรรมที่จะสร้างข้อเสนอแนะที่มีคุณภาพและนำไป สร้างสรรค์การพัฒนาในด้านต่างๆ ได้จริง บนพื้นฐานของจริยธรรมในวิชาชีพของนักประเมินผลที่ต้องการความสุจริต ซื่อสัตย์ เปี่ยมด้วยส านึกรับผิดชอบต่อสังคม สามารถเป็นที่ปรึกษา เป็นกัลยาณมิตรที่ร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงกับ องค์กร แผนงาน โครงการ กิจกรรมการพัฒนาในด้านต่างๆ ได้จริง