top of page

หลักสูตร/สมัครเรียน

วิทยาลัยวางแผนเปิดสอนหลักสูตรต่าง ๆ ที่สร้างประโยชน์ต่อสังคมในทุกระดับ โดยตั้งเป้าหมายผลิตบัณฑิตให้มีจิตสำนึกรักความเป็นธรรม มีทักษะในการทำงาน สนใจเข้าร่วมในการพัฒนาสังคมอย่างสร้างสรรค์ 

โดยวิทยาลัยได้มีจุดมุ่งหมายในการผลิตบัณฑิตดังนี้

           สร้างคนให้มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ และรับผิดชอบต่อสังคม

           สร้างคนให้มีความเข้าใจถึงความซับซ้อนของโครงสร้างและระบบต่างๆในชุมชนหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนชนบท เข้าใจปัญหาความยากจนอย่างลึกซึ้ง

          พัฒนาให้เกิดทักษะการทำงานกับชุมชน เป็นนักพัฒนาชุมชน นักวิชาการ นักวิจัยชุมชน นักประเมินสถานการณ์ชุมชน นักจัดการงานอาสาสมัคร หรือโครงการจัดการตนเองโดยชุมชน เป็นนักส่งเสริมงานวัฒนธรรมชุมชน นักจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในชุมชน และคนทำงานด้าน Social Responsibility ของภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรธุรกิจ

          สร้างความพร้อมให้นักศึกษาและบัณฑิตประกอบอาชีพอิสระ และกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise)      

          ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อประชาชน เพื่อการพึ่งพาตนเอง

The

JOINT

หลักสูตรปริญญาตรีศิลปศาสตรบัณฑิต
(นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม)

BA

ชื่อปริญญา  ศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมการพัฒนามนุษย์และสังคม)

                        Bachelor of Arts (Innovation for Human and Social Development)

 

การสร้างบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ GREATS ที่ทันโลกทันสังคม มีสำนึกรับผิดชอบอย่างยั่งยืน มีทักษะการสื่อสารที่ทรงพลัง มีสุนทรียะในจิตใจ เป็นผู้นำทำงานเป็นทีม มีจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ และมีแนวคิดด้านบริหารจัดการสามารถพึ่งพาตนเองได้ และยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เน้นสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงพัฒนาต่อสังคมไทย และสังคมโลก

ประกาศ

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต
(บัณฑิตอาสาสมัคร)

GV

ชื่อปริญญา  ประกาศนียบัตรบัณฑิต (บัณฑิตอาสาสมัคร)

Graduate diploma (Volunteer graduate)

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตอาสาสมัครนับว่าเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนแรกในประเทศ ไทยที่มีการเรียนแบบบริการสังคม (Service Learning)  นักศึกษาจะได้รับการยกเว้นค่าธรรม เนียมการศึกษา การเรียนการสอนจัดโดยอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่นักเรียนสนใจศึกษา นักศึกษาจะใช้เวลาเรียนภาคทฤษฎี 3 เดือน อีก 7 เดือนเป็นการลง พื้นที่เพื่อปฏิบัติงาน และเขียนงานวิจัยเฉพาะเรื่องที่จากพื้นที่่ใน 2 เดือน สุดท้าย

**ปิดหลักสูตรประกาศนียบัตร และยกระดับเป็นวิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา ในหลักสูตรปริญญาโท ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2565

หลักสูตรปริญญาโทศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
(การพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา)

MA

ชื่อปริญญา  ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การพัฒนาร่วมสมัยและปฏิบัติการพัฒนา)

                   Master of Arts (Contemporary Development and Development Practice)

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต เปิดสอน 2 วิชาเอก ได้แก่

1) วิชาเอกการพัฒนาร่วมสมัยและการประเมินผลเชิงพัฒนา เรียนวันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ณ มธ.  ท่าพระจันทร์  

โดยมี 3 แผนการศึกษา ดังนี้

  •  แผน ก แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ 

  •  แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์

  •  แผน ข ศึกษารายวิชาและทำการค้นคว้าอิสระ

2) วิชาเอกปฏิบัติการพัฒนา เรียนวันจันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. (เป็นบางวัน) ณ มธ. ศูนย์รังสิต และ วันเสาร์ – อาทิตย์ เวลา 09.00 น. ถึง 16.00 น. ณ มธ. ท่าพระจันทร์ โดยมี 2 แผนการศึกษา ดังนี้​

  • แผน ก แบบ ก 1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ 

  • แผน ก แบบ ก 2 ศึกษารายวิชาและทำวิทยานิพนธ์

IMG_9383.jpg

กลุ่มวิชาเลือก นักศึกษาปริญญาตรี

GV200

รายวิชา บอ. 200  ความรู้เบื้องต้นว่าด้วยการเปลี่ยนผ่านสังคมชนบทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Introduction to Rural Transformation in Southeast Asia)

ส่งเสริมองค์ความรู้การอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ภาษา และวัฒนธรรม และเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบกับความเปลี่ยนแปลงชนบทที่เกิดขึ้นในประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงผลกระทบของการจัดตั้งประชาคมอาเซียนต่อชนบทไทย

รายละเอียด
แผ่นพับ
Facebook Fan Page
Brochure
PE240

รายวิชา พท. 240 งานอาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม 

(Volunteerism and Social Development)

ศึกษาทักษะในการทำงานอาสาสมัคร โดยครอบคลุมแนวคิดเกี่ยวกับการทำงานอาสาสมัคร พัฒนาการของงานอาสาสมัครและขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ขององค์กรอาสาสมัคร      ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการพัฒนาตนเองเพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ ความเข้าใจในวิธีคิด วิธีการทำงานอาสาสมัคร พร้อมทั้งมีทักษะในการปฏิบัติงานอาสาสมัคร อันเป็นรากฐานในการพัฒนาสำนึกอาสาสมัครและการบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม โดยมีการศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัตินอกสถานที่ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายใต้การดูแลของ  อาจารย์ที่ปรึกษา

รายละเอียด
แผ่นพับ
Facebook Fan Page
Brochure
bottom of page