มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
Social Innovation Exchange @ PSDS
พื้นที่การแลกเปลี่ยนแนวคิด ผลงาน และความรู้ที่มีต่อนวัตกรรมสังคม กับเขตแดนของการพัฒนา
"กรอบ /ทิศทาง ของงานบริการวิชาการ - เพื่อสังคม"
"Social Problem Solving" นำเอาผลผลิตและผลลัพธ์ของ งานบริการวิชาการ - เพื่อสังคม ย้อนกลับไปเป็น “สารตั้งต้น” ของการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของวิทยาลัย การอธิบายความสำเร็จของผลการดำเนินงานในระดับ “โครงการ กิจกรรม” ให้ส่งผลต่อไปยังการปรับปรุงในระดับยุทธศาสตร์ องค์กร และการสร้างผลต่อการ เปลี่ยนแปลงสังคม มากกว่าหวังผลภาพลักษณ์ขององค์กร (เป็นจุดสูงสุด)
"Social Innovation Understanding"
วันที่ 27 เมษายน 2563 วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัดอบรมออนไลน์ "Social Innovation Understanding" ประเด็น การเรียนรู้เกี่ยวกับคลื่นนวัตกรรมเพื่อสังคม นวัตกรรมเพื่อสังคมกับทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง และเจาะลึกความรู้และปฏิบัติการออกแบบชีวิตและโลกอนาคต สำหรับนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย และคนทำงานสายพัฒนาสังคม
“After COVID - 19 ประสบการณ์ของการ มีส่วนร่วมแบบเปิด (open participation)”
ความสำเร็จของการปิดเมืองที่อู่ฮั่นไม่ได้มาจากอำนาจทางกฎหมายหรือคำสั่งทางการเมืองของรัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่นของจีน แต่เป็นความร่วมมือที่มาจากกิจการเอกชนที่ทำความเข้าใจ และรับช่วงต่อในการดูแลพนักงานของตน (ก่อนจะมีคำสั่งปิดเมือง รัฐบาลท้องถิ่น มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังบริษัทต่างๆให้ช่วยดูแลพนักงานไมใ่ห้ลา ไมใ่ห้เคลื่อนย้ายไปจากเมือง) รวมทั้งระบบการเชื่อฟังของคนในสังคมแบบขงจื๊อ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมโดยพื้นฐานของจีน
“นวัตกรรมภาคพลเมือง (civic innovation) กรณีศึกษากองทุนสวัสดิการชมุชน ตำบลห้วยเตย อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม ”
กองทุนสวัสดิการชมุชนตำบลห้วยเตย เป็นองค์กรจัดตั้งของชุมชนด้วยการประสานงานของผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยเตย และผู้ใหญ่บ้าน ตามแบบแผนของการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่ประสงค์ให้เป็นกลไกร่วมของภาครัฐและภาคประชาชน รวมทั้งสร้างเป็นความร่วมมือกับภาคเอกชน และภาคส่วนอื่นๆ ในการจัดบริการเป็นกองทุนสวัสดิการสังคม ในระดับชุมชน (community welfare fund)
“Social ends, social means and social innovation understanding ”
การทำความเข้าใจเรื่องนวัตกรรมสังคม มักจะพบความเกี่ยวข้องกับ social ends กับ social means ที่มีการนำมาใช้ประกอบการอธิบายนิยามและความเกี่ยวข้องของนวัตกรรมสังคม ทั้งสองเรื่องต่างเป็นการนำเอาความใหม่ของผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่งไปร่วมแก้ไขปัญหาของสังคม (social problem solving) โดย social ends จะถูกใช้อธิบายประกอบนวัตกรรมสังคมที่เกิดขึ้นจากการนำเอาผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการที่มีอยู่หรือที่สร้างขึ้นใหม่ไปใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาสังคม